บทความสาระ
(Article)
พลายคู่ตัดเดี่ยว

พลายคู่ตัดเดี่ยว พิมพ์หน้าเทวดา กรุวัดบ้านกร่าง

ประวัติการขุดค้นพบ
พระขุนแผนวัดบ้านกร่าง ถูกค้นพบ ราวปี พศ. 2447 บริเวณ วัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ว่ากันว่า แรกเริ่มเดิมที ที่มีการขุดค้นพบ
พระชุดนี้ เกิดจากการลักลอบขุด จากพวก ขโมย ของมีค่า ตามกรุพระ โดยพวกลักลอบขุด หวัง พวก ทองคำ เครื่องประดับ อัญมณีต่าง ๆ ที่มัก
จะใส่รวมมาปะปนกับ กรุพระเครื่อง แต่กลับไม่พบ พบเพียงแต่พระเครื่อง พระเครื่องที่ถูกลักลอบขุด กันขึ้นมาจากกรุ จึงถูกนำมากอง ๆ รวมกันไว้
บริเวณวัด สมัยนั้นพระเครื่องยังไม่ใช่ของมีค่ามีราคาอะไรมากมาย อีกทั้งความเชื่อในสมัยนั้น ไม่นิยม นำพระเข้ามาบูชา ในบ้านเนื่องจากพระเครื่อง
เป็นของสูง ควรไว้ที่ ที่ สมควรคือวัด มากกว่า หลักจาก พวกที่ลักลอบขุดพระไม่ได้สมบัติมีค่าอะไรไป ชาวบ้านบริเวณนำ ได้นำพระเครื่องชุดนี้ที่ถูก
ขุดขึ้นมา มากอง ๆ รวมกันบริเวณต้นโพธิ์ และก็ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น เด็ก ๆ บริเวณวัด บางคนได้นำพระชุดนี้ มาเล่นทอยเส้นกันบ้าง มาเล่นไปลงแม่น้ำ
กันบ้าง 
มาดูกันว่าพระขุนแผนบ้านกร่างลักษณะเป็นอย่างไร พร้อมประวัติคร่าว ๆ ครับ
พระเครื่อง 
กระทู้สนทนา
วันนี้ขอหยิบยกพระชุดหนึ่งมาเล่าเป็นวิทยาทานให้กับคนที่สนใจ หรือเพิ่งเริ่มศึกษาพระเครื่อง ซึ่งพระชุดนี้มีชื่อเสียงมากและเป็นที่ต้องการ
แก่ผู้นิยมสะสมพระเครื่อง ครับ พระชุดนี้คือพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรีครับ

ประวัติการขุดค้นพบ
พระขุนแผนวัดบ้านกร่าง ถูกค้นพบ ราวปี พศ. 2447 บริเวณ วัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ว่ากันว่า แรกเริ่มเดิมที ที่มีการขุดค้นพบ
พระชุดนี้ เกิดจากการลักลอบขุด จากพวก ขโมย ของมีค่า ตามกรุพระ โดยพวกลักลอบขุด หวัง พวก ทองคำ เครื่องประดับ อัญมณีต่าง ๆ ที่มัก
จะใส่รวมมาปะปนกับ กรุพระเครื่อง แต่กลับไม่พบ พบเพียงแต่พระเครื่อง พระเครื่องที่ถูกลักลอบขุด กันขึ้นมาจากกรุ จึงถูกนำมากอง ๆ รวมกันไว้
บริเวณวัด สมัยนั้นพระเครื่องยังไม่ใช่ของมีค่ามีราคาอะไรมากมาย อีกทั้งความเชื่อในสมัยนั้น ไม่นิยม นำพระเข้ามาบูชา ในบ้านเนื่องจากพระเครื่อง
เป็นของสูง ควรไว้ที่ ที่ สมควรคือวัด มากกว่า หลักจาก พวกที่ลักลอบขุดพระไม่ได้สมบัติมีค่าอะไรไป ชาวบ้านบริเวณนำ ได้นำพระเครื่องชุดนี้ที่ถูก
ขุดขึ้นมา มากอง ๆ รวมกันบริเวณต้นโพธิ์ และก็ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น เด็ก ๆ บริเวณวัด บางคนได้นำพระชุดนี้ มาเล่นทอยเส้นกันบ้าง มาเล่นไปลงแม่น้ำ
กันบ้าง

ต่อมา ความเชื่อเรื่อง การนำไม่พระเข้าบ้านก็ค่อย ๆ แปรเปลี่ยนไป อีกทั้ง มีชาวบ้านบริเวณนั้นได้หยิบพระขุนแผนบ้านกร่าง ไปไว้กับตัวแล้วพบเจอ
ปาฎิหารย์ ต่าง ๆ พระขุนแผนบ้านกร่าง จึงเริ่มเป็นที่เสาะแสวงหาแก่ ผู้นิยมชมชอบวัตถุโบราณในยุคนั้น จากของที่เคยทิ้งไว้ ก็ถูกชาวบ้านหยิบนำติด
ตัวกลับบ้าน ไป เรื่อย ๆ ว่ากันว่า พอจำนวนพระที่ถูกนำมากองทิ้งไว้ ตามต้นไม้ หรืออื่น ๆ บริเวณวัดหมดแล้ว ก็มีชาวบ้านจำนวน นึง ถึงกับไปลงงมหา
กันในแม่น้ำ กันเลยทีเดียว และสุดท้าย พระที่เคยกองเรี่ยราดตามพื้นก็ไม่มีเหลืออีกแล้ว จนถึงปัจจุบัน

ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับผู้สร้างพระขุนแผน
พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง ไม่ได้มีบันทึกที่แน่ชัดว่า ผู้ใดเป็นผู้สร้าง แต่สันนิษฐาน กันว่า ผู้ที่ดำริ สร้างพระชุดนี้ น่าจะเป็น สมเด็จพระนเรศวร มหาราช
เนื่องด้วยเหตุผล สำคัญ ดังต่อไปนี้
1. หากจะพูดถึงพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง ต้องพูดถึงพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ ชัยมงคล จ.อยุธธา ด้วยเนื่องจากเป็นพระที่ มีพุทธลักษณะ ที่แทบ
จะเหมือนกันทุกประการ ว่า ง่าย ๆ ว่าบางพิมพ์แทบจะเป็นพิมพ์ด้วยกันเลย โดย พระขุนแผนเคลือบกรุวัดใหญ่ชัยมงคล ค่อนข้างชัดเจนว่า ผู้สร้าง คือ 
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยสร้างไว้ เพิ่มเฉลิมฉลอง หลังได้รับชัยชนะจากการทำยุทธหัตถี กับสมเด็จพระมหาอุปราช ของพม่า และด้วยเหตุนี้ จึงสัน
นิษฐานว่า คนทำแม่พิมพ์ เพื่อถวาย สมเด็จพระนเรศวร นี้ น่าจะเป็นคนเดียวกับที่ทำแม่พิมพ์ พระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง
2.ตามข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ ในสมัย ก่อน คือ ตำบลหนองสาหร่าย อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นบริเวณที่ใกล้เคียง กับ วัดบ้านกร่าง 
แต่ปัจจุบัน ก็ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ ว่าที่ทำยุทธหัตถีจริง ๆ อาจจะเป็น จ.กาญจนบุรี ซึ่ง ประเด็นตรงนี้ผมไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ ไม่อาจจะฟันธงได้ แน่นอน
แต่เอาเป็นว่า ไม่ว่าจุดที่ทำยุทธหัตถีจริง ๆ อยู่ตรงไหน กันแน่ แต่บริเวณ วัดบ้านกร่าง น่าจะเป็นจุดที่สมเด็จพระนเรศวร ได้เคลื่อนทัพผ่านมา แน่นอน ด้วยเหตุนี้ จึงพอจะเชื่อมโยงได้ว่า บริเวณวัดบ้านกร่างมีความเป็นไปได้มาก ที่จะเป็นจุดพักหรือจุดผ่าน ทัพ ของสมเด็จพระนเรศวร และท่านอาจจะนำพระเครื่องชุดนี้ มาสร้างและบรรจุกรุไว้ที่นี่

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ไม่มีหลักฐานชัดเจน ว่าใครเป็นผู้สร้างกันแน่ แต่พระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง นี้ ก็เป็นหนึ่ง ในโบราณวัตถุ ชิ้นหนึ่ง ที่เก่าแก่ และทรงคุณค่าชิ้นหนึ่งครับ

พิมพ์และพุทธลักษณะ 
พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง มีด้วยกัน หลายสิบพิมพ์มาก ราว ๆ 30-40 พิมพ์ โดย พุทธลักษณะ เป็น ศิลปะอยุธยา โดยพิมพ์ พระนี้ ส่วนใหญ่ เป็น พระพุทธปาง มารวิชัย ประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว โดย สันนิษฐานกันว่า ถ้าผู้ดำริสร้างพระชุดนี้ คือสมเด็จพระนเรศวร จริง ๆ น่าจะนำพุทธลักษณะ ของพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลกมาเป็นต้นแบบในการสร้าง เนื่องด้วยพระองค์ท่าน เคารพและศัทธรา ต่อองค์พระพุทธชินราช มาก เพราะในสมัยที่ท่านยังทรงพระเยาว์ พระราชบิดาของท่าน คือพระมหาธรรมราชา ท่านเคยเป็นเจ้าเมืองอยู่ พิษณุโลก พระชุดนี้ เกือบ ทั้งหมด จึงเป็น ปางมารวิชัยประทับ ซุ้มเรือนแก้วเฉกเช่นเดียวกับ พระพุทธชินราช แต่มีบางพิมพ์ ที่เป็นปางสมาธิ ซึ่งมีจำนวนน้อย โดยพิมพ์ต่าง ๆ สามารถจำแนก ได้หลัก ๆ ดังนี้
1.พระขุนแผนทรงพลใหญ่ 
2.พระขุนแผนทรงพลเล็ก
3.พระขุนแผนห้าเหลี่ยมอกใหญ่
4.พระขุนแผนห้าเหลี่ยมอกเล็ก
5.พระขุนแผนพิมพ์เถาวัลย์เลื้อย
6.พระขุนแผนพิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว
7.พระขุนแผนพิมพ์พลายเดี่ยว (มีพิมพ์แยกย่อยหลายสิบพิมพ์)
8.พระขุนแผนพิมพ์พลายคู่ (เป็นพระสององค์ติดกันมีพิมพ์แยกย่อยหลายสิบพิมพ์)
โดยพิมพ์ที่เป็นปางสมาธิจะมีเพียงแค่ พระขุนแผนทรงพลใหญ่ พระขุนแผนทรงพลเล็ก พระขุนแผนพิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว และ ขุนแผนพิมพ์พลายคู่อีกหนึ่งพิมพ์คือพิมพ์สองปาง ซึ่งจะเป็นองค์หนึ่งจะเป็น ปางมารวิชัย และอีกองค์จะเป็น ปางสมาธิ